กองอาคารสถานที่ เป็นหน่วยงานที่เน้นการให้บริการเพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษาและส่งเสริมกิจกรรมของมหาวิทยาลัยมหาสารคามด้วยความรวดเร็ว ถูกต้อง ผู้ใช้บริการพึงพอใจกับการรับบริการ และมีการพัฒนาระบบการปฏิบัติงานของบุคลากรอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ได้มาตรฐาน
วันที่ 27 มีนาคม 2511 วิทยาลัยวิชาการศึกษามหาสารคามได้รับเจ้าหน้าที่ภารโรงเข้ามาทำงานดูแล
รักษาความสะอาดทั่วไปภายในมหาวิทยาลัย โดยมีอาจารย์เป็นผู้ควบคุมดูแล
ปี พ.ศ. 2512 ได้รับเจ้าหน้าที่เข้ามาเพิ่มอีกและจัดสร้างอาคารสำหรับเก็บอุปกรณ์เครื่องมือในการ
ทำงานไว้เรียกว่า “โรงงาน”
ปี พ.ศ.2517 มีการแบ่งแยกคนงานทั้งหมดภายในมหาวิทยาลัยออกเป็นกลุ่ม ๆ คือ กลุ่มช่างประจำ
โรงงาน กลุ่มคนสวน กลุ่มทำความสะอาดอาคารและกลุ่มโรงครัว
เป็นปีที่งานอาคารที่เริ่มก่อตั้งขึ้นเป็นหน่วยงานอย่างเป็นทางการ
กองอาคารสถานที่เดิมเป็นงานอาคารสถานที่ สังกัดกองกลาง สำนักงานอธิการบดี ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งเป็นกองอาคารสถานที่ โดยแยกออกมาจากกองกลาง สำนักงานอธิการบดี ในคราวประชุมสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 1/2548 เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2548 และออกประกาศให้มีการแบ่งหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย มหาสารคาม พ.ศ. 2548 เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2548 มีพื้นที่ที่ต้องดูแลรับผิดชอบ ณ เขตพื้นที่ตำบลขามเรียง ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม เนื้อที่ 1,300 ไร่ เขตพื้นที่ในเมือง ถนนนครสวรรค์ ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม เนื้อที่ 197 ไร่ และเขตพื้นที่ในเมือง (คณาสวัสดิ์) เนื้อที่ 145 ไร่ มีภารกิจหลักในการให้บริการเพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนและส่งเสริมกิจการของมหาวิทยาลัยมหาสารคามด้วยความสะดวกรวดเร็ว ผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจสูงสุดกับการรับบริการ ซึ่งในปี พ.ศ. 2554 มีการจัดแบ่งโครงสร้างการบริหารงานออกเป็น 3 กลุ่มงาน กับ 7 งาน
1.กลุ่มงานสาธารณูปการและซ่อมบำรุง ประกอบด้วย
1.1) งานระบบประปา
1.2) งานระบบไฟฟ้า
1.3) งานบริการและซ่อมบำรุง
1.4) งานแม่บ้าน
1.5) งานปรับอากาศ
2. กลุ่มงานภูมิทัศน์และจัดการสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย
2.1) งานภูมิทัศน์
2.2) งานจัดการสิ่งแวดล้อม
3. กลุ่มงานผังแม่บทและระบบอาคารสถานที่ ประกอบด้วย
3.1) งานออกแบบอาครสิ่งก่อสร้าง
3.2) งานสำรวจข้อมูลที่ดิน และสิ่งก่อสร้าง
3.3) งานควบคุม ตรวจสอบ วิเคราะห์อาคารและสิ่งก่อสร้าง
3.4) งานผังแม่บท
4. งานบริหารทั่วไป
5. งานอาคารชุดที่พักอาศัย
6. งานรักษาความปลอดภัย
7. หน่วยจัดการขยะและของเสีย
8. งานซ่อมแซมและบำรุงรักษาเครื่องจักรกล
9. หน่วยซ่อมบำรุงโสตทัศณูปกรณ์
10. ศูยน์ประสานงานอาคารสถานที่ (ที่ตั้ง ม.เดิม)
ปัจจุบันมีการบริหารจัดการภายใต้การกำกับ ควบคุมดูแลของอธิการบดี ซึ่งมีการจัดแบ่งโครงสร้างการบริหารงานออกเป็น 16 งานเพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารงานและเน้นการกระจายอำนาจ ดังนี้
1) งานไฟฟ้า
2) งานสถานีไฟฟ้าย่อย
3) งานประปา
4) งานโรงผลิตน้ำประปา
5) งานปรับอากาศ
6) งานซ่อมบำรุง
7) งานบริการทั่วไป
8) งานพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อม
9) งานผังแม่บทและออกแบบสิ่งก่อสร้าง
10) งานจัดการขยะและน้ำเสีย
11) งานแม่บ้าน
12) งานจราจรและรักษาความปลอดภัย
13) งานบรรเทาสาธารณภัย
14) งานสวัสดิการอาคารชุดที่พักอาศัยและหอพักนิสิต
15) งานซ่อมบำรุงโสตทัศนูปกรณ์
16) งานบริหารงานทั่วไป